คำถามที่พบบ่อยของ Smart Visa

แนวทางการพิจารณาคำขอรับรองคุณสมบัติของ Smart “T”

สามารถดาวน์โหลดเอกสารและส่งผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ www.smart-visa.boi.go.th/smart ทางหน่วย Smart Visa จะส่งเอกสารทั้งหมดไปยังหน่วยงานพิจารณา เพื่อรับรองกลุ่มอุตสาหกรรมแทนผู้สมัครเอง
นอกจากที่บริษัทจะต้องได้รับการรับรองว่าจัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายแล้ว บริษัทต้องได้รับการรับรองว่าเป็นบริษัท Startup หรือ วิสาหกิจเริ่มต้น อีกด้วย ทั้งนี้ในการที่จะได้รับรองว่าเป็นบริษัท Startup นั้นเอกสารทั้งหมดเกี่ยวกับบริษัทจะถูกส่งให้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA. เป็นผู้พิจารณารับรองคุณสมบัติ
ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปก็ได้ จะสามารถใช้วุฒิการศึกษาชนิดอื่นก็ได้ แต่ต้องเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือมีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง
วุฒิการศึกษาซึ่งต้องจบทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ/หรือใบรับรองการฝึกอบรม รางวัล หรือหลักฐานเพื่อรับรองประสบการณ์การทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความเชี่ยวชาญนั้นๆ
สำหรับผู้สมัครที่มีสัญญาจ้างกับหน่วยงานของรัฐ ไม่ได้กำหนดรายได้ขั้นต่ำ เพียงแต่ต้องมีสัญญาจ้างหรือจดหมายรับรองความเชี่ยวชาญจากหน่วยงานรัฐนั้นๆ
สามารถทำได้ แต่ทั้ง 2 บริษัทต้องผ่านการรับรองคุณสมบัติว่าเป็นอุตสาหกรรมในกลุ่มเป้าหมายที่ทาง Smart Visaกำหนดไว้
สามารถสมัครได้ โดยจะพิจารณาจาก ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน, ใบรับรองการอบรม, ผลงานหรืองานวิจัย, รางวัลต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหน่วยงานที่พิจารณารับรอง
สามารถยื่นสมัครได้ โดยต้องมีระบุว่าเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้ามาปฏิบัติงานประเทศไทยตาม Service agreement หรือสัญญาการค้าระหว่างบริษัทในต่างประเทศและบริษัทหรือองค์กรในประเทศไทย ซึ่งบริษัทที่จะต้องได้รับการรับรองกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายคือบริษัทที่อยู่ในประเทศไทยซึ่งคนต่างชาติต้องเข้ามาทำงาน นอกจากนี้ จะต้องมีสัญญาจ้างหรือใบรับรองการจ้างงานระหว่างตัวบุคคลกับบริษัทในต่างประเทศ โดยมีลายเซ็นผู้มีอำนาจรับรองด้วย
สามารถยื่นสมัครก่อนได้ หากมีกำหนดเวลาเริ่มงานที่ชัดเจน อาจได้รับอนุญาตให้ขอประทับตราวีซ่าได้ก่อนกำหนดเวลาเริ่มงานตามความจำเป็นและเหมาะสม
สามารถยื่นสมัครในประเภท Smart “T” ได้ แต่ทั้งนี้ ผู้ยื่นจะต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความรับผิดชอบในงานที่ทำก็ต้องมีความสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญนั้นๆ ด้วย เพื่อสามารถขอการรับรองจากหน่วยงานพิจารณาว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นจริง

แนวทางการพิจารณาคำขอรับรองคุณสมบัติของ Smart “E”

ได้ โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารใบสมัครและส่งใบสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ www.smart-visa.boi.go.th/smart หากท่านมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข โดยไม่ต้องรอให้ถึงกำหนดวันหมดอายุของ Visa ประเภทเดิม
สามารถทำได้ แต่ทั้ง 2 บริษัทต้องผ่านการรับรองว่าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการผลิตหรือให้บริการตามที่ทาง Smart Visa กำหนดไว้
ต้องทำการแจ้งเปลี่ยนสถานที่ทำงาน และเข้ามาประทับตราที่อยู่บริษัทใหม่เสียก่อนจึงเป็นอันเสร็จสิ้น
สามารถใช้ยื่นสมัครได้ แต่ผู้สมัครจะต้องทำการแปลเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย และมีหนังสือรับรองความเทียบเท่าของวุฒิการศึกษานั้น จากหน่วยงานหรือองค์กรที่เชื่อถือได้ เช่น สถานทูตต่างประเทศ หน่วยงานรัฐต่างๆ เป็นต้น
หากผู้นั้นเป็นผู้ติดต่อตามใบสมัคร ก็สามารถดำเนินการแทนได้โดยไม่ต้องมีหนังสือใบมอบอำนาจ ในกรณีเป็นการยื่นคำขอรับรองคุณสมบัติทางออนไลน์ หรือการส่งใบฟอร์ม และเอกสารต่างๆ ทางออนไลน์ แต่การมาแสดงตัวตนต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อขอรับประทับตราต่างๆ จะต้องมาดำเนินการด้วยตัวเองเท่านั้น ยกเว้นในกรณีเป็นการติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อการอื่น ซึ่งสามารถแต่งตั้งให้ผู้ติดต่อดำเนินการแทนได้ อาทิ การย้ายตราประทับจากหนังสือเดินทางเล่มเก่ามาที่หนังสือเดินทางเล่มใหม่ จะต้องทำหนังสือแต่งตั้งผู้แทนหรือหนังสือรับมอบอำนาจซึ่งกำหนดขอบเขตอำนาจของผู้แทนหรือผู้รับมอบอำนาจไว้อย่างชัดเจน
สามารถนำมารวมได้ เนื่องด้วยเงื่อนไขเงินได้ต่อเดือนไม่น้อยกว่า 200,000 บาท ของ Smart “E” ให้รวมถึงรายได้ หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ซึ่งมาจากการทำงานที่ได้รับการรับรองนั้นๆ เช่น เงินเดือน เงินโบนัส ค่าเช่าบ้าน และสวัสดิการต่างๆ ที่คำนวณออกมาเป็นจำนวนเงินได้
สามารถที่จะยื่นสมัครได้ โดยต้องมีหนังสือแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากบริษัทว่าตำแหน่งใหม่จะมีผลอย่างเป็นทางการเมื่อไร
สำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ต้องเป็นผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในด้านหนึ่งด้านใดขึ้นไป อาทิ COO CTO EVP เป็นต้น และในกรณีบริษัทที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก จะต้องเป็นผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท เช่น M.D. CEO เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและดุลยพินิจ โดยจะพิจารณาจากผังองค์กร เป็นต้น
ไม่สามารถยื่นสมัครได้ทุกคน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กรหรือบริษัท ซึ่งทาง Smart Visa จะเป็นผู้พิจารณาเรื่องความเหมาะสมว่าสามารถรับรองได้สูงสุดจำนวนกี่คน โดยจะพิจารณาจากขนาดและโครงสร้างขององค์กร แผนผังองค์กร จำนวนพนักงานทั้งหมด เป็นต้น

แนวทางการพิจารณาคำขอรับรองคุณสมบัติของ Smart “I”

ลงทุนในนามบุคคลหรือผ่านกองทุน Venture Capital ดังนี้:
  • ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท ในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ
  • ไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท ในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) ซึ่งได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ สามารถลงทุนได้มากกว่า 1 กิจการและต้องคงการลงทุนดังกล่าวไว้ในวงเงินข้างต้นตลอดระยะเวลาที่ถือ Smart Visa
ต้องเป็นกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ และต้องอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามที่ Smart Visa กำหนดไว้ได้แก่:
  1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive)
  2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
  3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
  4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
  5. อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future)
  6. อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation and Robotics)
  7. อุตสาหกรรมการบินและ โลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
  8. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemical)
  9. อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
  10. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
  11. การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution)
  12. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Human Resource Development in Science and Technology)
  13. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน (Environmental Management and Renewable Energy)
จำนวนเงินลงทุนเป็นเพียงส่วนหนึ่งในคุณสมบัติของผู้ยื่นสมัคร Smart “I” ทั้งนี้หน่วยงานจะพิจารณาจากข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น พิจารณาจากบริษัทที่ลงทุนว่ามีเทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือให้บริการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เป็นต้น
ไม่สามารถยื่นสมัครขอรับการพิจารณา Smart Visa ได้ เนื่องจากต้องลงทุนในบริษัทที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
โดยหลักการ การลงทุนต้องลงทุนในนามตัวบุคคลเท่านั้นไม่สามารถลงทุนในนามชื่อบริษัทได้ แต่หากสามารถพิสูจน์ทางเอกสารได้ว่าเป็นการลงทุนผ่านบริษัทซึ่งผู้ยื่นคำขอมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้น ก็สามารถนำมาคำนวณการลงทุนที่แท้จริงโดยใช้วิธีเทียบสัดส่วนได้
ได้ โดยนอกเหนือจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น อาจแสดงเอกสารหลักฐานการโอนเงินลงทุนเข้าในบัญชีบริษัท เป็นต้น
ได้ หากมีหลักฐานการเป็นเจ้าของกิจการหรือบริษัทในต่างประเทศที่เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทในประเทศไทยที่ขอรับการรับรอง หรือเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวนำมาแสดงในขั้นตอนขอรับรองคุณสมบัติ
ไม่จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจาก BOI แต่ต้องเป็นกิจการในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ
เอกสารต้องมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่คัดลอกสำเนา
ถ้าเป็นบริษัทในเครือที่จัดตั้งในประเทศไทยแล้วและมีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทย สามารถยื่นสมัคร Smart “I” ได้

แนวทางการพิจารณาคำขอรับรองคุณสมบัติของ Smart “S” ชนิด 6 เดือน

ประเด็นการการจัดตั้งบริษัทขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยปัจจัยแรกต้องดูว่ากิจการที่ทำอยู่ในบัญชีแนบท้ายของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่ ทั้งนี้ ชาวต่างชาติสามารถจัดตั้งบริษัทได้โดยไม่ต้องมีหุ้นส่วนคนไทย แต่จะต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL) หรือ (FBC) เพื่อให้บริษัทดำเนินธุรกิจนั้นได้ถูกต้องตามกฎหมาย
สามารถยื่นสมัคร Smart “S” ชนิด 6 เดือนได้ โดยให้ยื่นใบสมัคร พร้อมแนบแผนการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้น (Pitch Deck) ที่ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งแผนการจัดตั้งอาจแสดงในรูปของสไลด์นำเสนอ PowerPoint หรือรูปแบบอื่นๆ ก็ได้
ในกระบวนการรับรองคุณสมบัติ ทางหน่วย Smart Visa จะเป็นหน่วยงานกลางที่ในการประสานงานกับหน่วยงานรับรองที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณารับรองแผนธุรกิจ โดยที่ผู้ยื่นไม่ต้องดำเนินการขอรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง หลังจากที่ได้รับผลการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว หน่วย Smart Visa จะแจ้งผลให้ท่านทราบในลำดับต่อไป
แผนการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นควรประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ เช่น แผนผังสมาชิกในทีม ที่มาและความสำคัญของการดำเนินธุรกิจ จุดประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย รูปแบบของผลิตภัณฑ์/บริการ แผนการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย แผนการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย Revenue model แหล่งที่มาของเงินทุน เป็นต้น โดยสามารถศึกษารายละเอียดแผนจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นเพิ่มเติมได้ที่ https://smart-visa.boi.go.th/smart/ คลิก เลือก Practical info เลือกหัวข้อ Documents Required
ค่าธรรมเนียม Smart Visa 10,000 บาท/ปี จ่าย ดังนั้นแม้จะได้รับ Smart “S” ชนิด 6 เดือนก็ต้องชำระ 10,000 บาท ณ วันที่ขอรับการตรวจลงตรา โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการสมัคร
สามารถยื่นสมัครได้ แต่เมื่อได้รับแจ้งผลว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับ Smart Visa จะต้องนำประกันสุขภาพที่ตรงตามเงื่อนไขมาแสดงก่อนจึงจะได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณา เพื่อใช้ในการตรวจลงตรา Smart “S” ชนิด 6 เดือน
สามารถยื่นสมัครได้ แต่จะต้องแสดงแผนการที่ชัดเจนในการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นที่ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ และแผนการเพิ่มทีมงานในอนาคตที่ชัดเจน
ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันและมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีแล้วหรือไม่ จึงขอแนะนำให้สอบถามกรมสรรพากรเพื่อความถูกต้อง แต่สันนิษฐานว่าผู้ได้รับ Smart “S” ชนิด 6 เดือน จะยังจัดตั้งบริษัทไม่สำเร็จ จึงยังไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้ตนเองและลูกจ้างได้ และยังไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

แนวทางการพิจารณาคำขอรับรองคุณสมบัติของ Smart “S” ชนิด 1 และ 2 ปี

เงินฝากในบัญชี 600,000 บาท สามารถฝากในบัญชีธนาคารต่างประเทศหรือในประเทศไทยก็ได้ และต้องถือครองไว้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
สามารถแสดงบัญชีหุ้นได้ แต่ต้องถือครองไว้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่สามารถใช้กองทุนหลังเกษียณหรือบัญชีกองทุนบำนาญได้ เนื่องจากกองทุนหลังเกษียณหรือบัญชีกองทุนบำนาญไม่สามารถถอนเงินได้ก่อนกำหนด จึงไม่สามารถใช้ในการทำธุรกิจในประเทศไทยได้
โครงการ Incubation และ Accelerator และรายชื่อผู้ประสานงานของแต่ละโครงการ มีรายละเอียดดังนี้ หรือสามารถดูได้จาก https://smart-visa.boi.go.th/smart คลิกเลือก Practical info เลือกหัวข้อ Related documents รายละเอียดจะอยู่ที่ Other documents ก็ได้
หลักจากที่ได้ Smart “S” ชนิด 1 ปีแล้ว ผู้ถือ Smart Visa จำเป็นต้องจดจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยให้ได้ เพื่อสามารถขอ Smart “S” ชนิด 2 ปีต่อไปได้
ถ้าถือหุ้นไม่ถึง 25 % จะไม่สามารถขอ Smart “S” ชนิด 2 ปีได้ จำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อให้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 25% หรือมีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัท นั้น
หน่วยงานที่พิจารณารับรอง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) จะรับรองวิสาหกิจเริ่มต้นโดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ได้แก่ นวัตกรรม (Innovation), เทคโนโลยีและการเติบโตของรายได้ (Technology and Revenue Scale Up) โดยดูจากแผนธุรกิจ หรือ Pitch deck ที่นำเสนอเข้ามา
ในการยื่นสมัคร Smart “S” ชนิด 2 ปีสามารถเป็นได้ทั้งบริษัทที่คนไทยถือหุ้นข้างมากหรือชาวต่างชาติถือหุ้นข้างมากก็ได้
ผู้ที่ได้รับ Smart “S” ชนิด 2 ปีจะสามารถขอขยายระยะเวลาอีก 2 ปีได้อีกโดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์คุณสมบัติและเงื่อนไขเดิม หรือสามารถสมัครเป็นประเภทอื่นเช่น Smart “T” หรือ Smart “E” ได้ถ้ามีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด
วิสาหกิจที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัดสามารถเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubation) และโครงการเร่งการเติบโต(Accelerator) ในกรุงเทพฯ ได้ แต่ต้องสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามที่แต่ละโครงการกำหนดได้
ผู้ประสงค์ยื่นสมัคร Smart “S” ต้องสมัครเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubation) และ โครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) ที่ได้รับรองจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง และสามารถสมัคร Smart Visa ได้ตั้งแต่ได้รับการตอบรับให้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วม หรือระหว่างเข้าร่วมโครงการหรือหลังจากเข้าร่วมโครงการเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 1 ปี โดยต้องมีเอกสารยืนยันรับรองซึ่งออกโดยโครงการนั้นๆ ด้วย

แนวทางการพิจารณาคำขอรับรองคุณสมบัติของ Smart “O”

เอกสารที่แสดงความสัมพันธ์จะต้องเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยเท่านั้น ถ้าเป็นภาษาต้นฉบับที่ไม่ใช่ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ จะต้องทำการแปลกเอกสารและรับรองด้วยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ พร้อมทั้งยื่นสำเนาต้นฉบับและฉบับแปลมาด้วย
ไม่ได้ เนื่องจาก Smart “O” กำหนดให้ผู้ติดตามจะต้องมีความสัมพันธ์เป็น สามี – ภรรยา หรือบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น โดยมีเอกสารหลักฐานยืนยันจากทางภาครัฐ
ไม่ได้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับ การจดทะเบียนสมรสระหว่างเพศเดียวกัน
หากยื่นสมัครพร้อมกัน จะได้รับอนุญาตระยะเวลาและวันสิ้นสุดเท่ากับผู้ถือหลัก แต่หากยื่นสมัคร Smart “O” ภายหลัง เช่น หากผู้ถือหลักได้ระยะเวลา 2 ปี ผู้ติดตามก็จะได้วีซ่าโดยวันที่สิ้นสุดจะเท่ากับผู้ถือหลัก ซึ่งระยะเวลารวมอาจได้น้อยกว่า 2 ปีก็ได้
ผู้ติดตามที่เป็นบุตร จะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าหากเป็นผู้ติดตามของผู้ถือ Smart “T” ซึ่งยังอยู่ในวัยเรียนอาจมีอายุเกิน 20 ได้ โดยจะต้องแสดงหลักฐานการศึกษาด้วย
ผู้ติดตามสามารถทำงานในอุตสาหกรรมใดก็ได้ แต่ต้องไม่เป็นงาน ที่จัดอยู่ในกลุ่มงานต้องห้ามคนต่างด้าวทำ ตามประกาศของกรมแรงงาน
เงินฝาก 180,000 บาท จะอยู่ในบัญชีของใครก็ได้ ระหว่างสามีหรือภรรยา และจะต้องถือครองมาแล้วอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 เดือน
สามารถยื่นสมัครให้บุตรได้ แต่ต้องแสดงหลักฐานความสัมพันธ์ หรือเอกสารราชการ เช่น หมายศาลที่แสดงให้เห็นถึงสิทธิในการดูแลบุตรคนนั้น
จะต้องยื่นขอประทับตราสถานที่ทำงานลงในหนังสือเดินทาง โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ www.smart-visa.boi.go.th/smart หัวข้อ Practical Info เลือก Download forms เลือกดาวน์โหลด Smart Visa Qualifications Update Form
ผู้ติดตามไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารการตรวจประวัติอาชญากรรม (Criminal record) แม้เป็นผู้ติดตามของผู้ถือ Smart Visa หลักที่ต้องยื่นประวัติอาชญากรรมก็ตาม

แนวทางการแจ้งผลการพิจารณารับรองคุณสมบัติ และการอำนวยความสะดวกการตรวจลงตรา

มี 3 รายการ ดังนี้:
  1. หนังสือ Notification of qualification endorsement of a Smart Visa ซึ่งเป็นเอกสารสำหรับผู้มีสิทธิได้รับ Smart Visa โดยเฉพาะ
  2. สำเนาหนังสือแจ้งผลการพิจารณารับรองคุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับ Smart Visa กรมการกงสุล
  3. สำเนาหนังสือแจ้งผลการพิจารณารับรองคุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับ Smart Visa สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
มี 7 รายการ ดังนี้:
  1. หนังสือ เรียน ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 แจ้งผลการพิจารณารับรองคุณสมบัติผู้ได้รับสิทธิขอรับการตรวจลงตรา Smart Visa ฉบับจริง
  2. แบบคำขอรับการตรวจลงตรา ตม.90 พร้อมรูปถ่ายพื้นหลังสีขาว ขนาด 4 x 6 ซม.
  3. แบบรับทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) สตม.6
  4. แบบรับทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว สตม.
  5. หนังสือรับทราบแนวทางปฏิบัติการห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร กรณีคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุดเป็นระยะเวลานาน
  6. สำเนาหนังสือเดินทางหน้าแรก และทุกหน้าที่มีตราประทับขาเข้า พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  7. สำเนา ตม.6 (Departure Card) พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
60 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือแจ้งผลการพิจารณารับรองคุณสมบัติ หากเกินระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าหนังสือแจ้งผลการพิจารณารับรองคุณสมบัติหมดอายุ ไม่สามารถใช้ในการยื่นคำขอรับการตรวจลงตรา Smart Visa ได้ ผู้มีสิทธิได้รับ Smart Visa จะต้องดำเนินการยื่นสมัครเข้ามาใหม่อีกครั้ง
ในปัจจุบันสามารถขอรับการตรวจลงตรา ณ กองกำกับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน อาคารจัตุรัสจามจุรี หรือศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ (สถานที่ซึ่งผู้มีสิทธิได้รับ Smart Visa ได้ระบุไว้ เมื่อยื่นคำขอรับรองคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิได้รับ Smart Visa) เท่านั้น
ในกรณีที่เคยทำงานในบริษัทที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI (ประเภทธุรกิจทั่วไป) ให้ทำการแจ้งพ้นหน้าที่ต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ กองกำกับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน อาคารจัตุรัสจามจุรี โดยจะต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
  1. จดหมายถึงสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อแจ้งคนต่างด้าวพ้นหน้าที่ (โดยจะต้องระบุวันที่ออกจากงานให้ชัดเจน หากไม่ระบุวันที่ออกจากงาน จะถือว่าออกจากงานตามวันที่ที่ออกจดหมาย) ลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
  2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
  3. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) เดือนล่าสุด ผ่านการรับรองจากนายทะเบียนสำนักงานสรรพากร
  4. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท พร้อมลงชื่อกำกับรับรองสำเนาถูกต้อง
  5. หนังสือเดินทางของคนต่างด้าวผู้พ้นหน้าที่ (เจ้าหน้าที่ต้องประทับตราพ้นหน้าที่ในเล่มหนังสือเดินทางดังกล่าว)
  6. ใบอนุญาตทำงานฉบับจริงของคนต่างด้าวผู้พ้นหน้าที่
ชาวต่างชาติจะต้องคืนใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานในพื้นที่ของตน ภายใน 15 วัน หลังจากชาวต่างชาติออกจากงานแล้ว โดยต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ (ไม่มีข้อกำหนดบทลงโทษหากไม่ดำเนินการหรือเกินระยะเวลาดังกล่าว)
  1. กรอกใบแจ้งขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน โดยชาวต่างชาติเป็นผู้ลงนาม พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
  2. ใบอนุญาตทำงานฉบับจริง
ในปัจจุบันสามารถชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเป็นเงินสดได้เท่านั้น
หน่วย Smart Visa จะแจ้งผลการพิจารณารับรองคุณสมบัติให้แก้ผู้ยื่นทางอีเมล์ โดยจะแนบ Notification of qualification endorsement of a Smart Visa หรือ Notification of refusal of qualification endorsement application for a Smart Visa และผู้มีสิทธิได้รับ Smart Visa (ผู้ที่ได้รับ Notification of qualification endorsement of a Smart Visa) จะต้องดำเนินการยื่นคำขอรับการตรวจลงตรา Smart Visa ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือแจ้งผลการพิจารณารับรองคุณสมบัติ ทั้งนี้ หากถือวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราวชนิดอื่น จะต้องดำเนินการขอยกเลิกวีซ่านั้นก่อน จึงจะขอประทับตรา Smart Visa ได้ในวันเดียวกัน
จะต้องยื่นก่อนขอรับการตรวจตรา Smart Visa โดยแสดงกรมธรรม์ หรือใบเสร็จรับเงินมาแสดงว่าได้มีการซื้อกรมธรรม์ประกันสุขภาพแล้ว พร้อมทั้งแนบแผนผลประโยชน์กรมธรรม์ประกอบด้วย

แนวทางการให้บริการผ่านระบบ Smart Visa Online Web Service

ทาง Email: smartvisa@boi.go.th หรือทางโทรศัพท์ ที่เบอร์โทร 02 209 1100 ต่อ 1109 – 1110
มีขั้นตอนหลัก คือ ก.สมัครสมาชิกเข้าใช้งานระบบ เพื่อที่จะสามารถ ข.ยื่นใบสมัครเข้ามาในระบบได้
ก. สมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้งานระบบ มีขั้นตอนดังนี้
  1. กรอกข้อมูลลงทะเบียนที่เว็บไซต์ของ Smart visa ได้ที่ https://smart-visa.boi.go.th/register.php
  2. รอรับอีเมล์ยืนยันการลงทะเบียน พร้อมรับ Activate link ในอีเมล์ที่ท่านได้ทำการลงทะเบียนไว้ โดยปกติจะมีอีเมล์เข้ามาใน inbox ไม่เกิน 5 นาทีหลังจากลงทะเบียน ถ้าอีเมล์ยังไม่เข้ามาใน inbox กรุณาไปตรวจสอบที่ Junk Mail
  3. คลิกที่ Activate link เพื่อยืนยัน ว่าเป็นอีเมล์ที่ท่านได้ทำการลงทะเบียนไว้ในระบบจริง
  4. หลังจากคลิกที่ Activate link แล้วจะนำท่านมายังหน้าการล็อกอิน https://smart-visa.boi.go.th/signin.php
  5. กรอก Username และ Password คลิก Sign in พร้อมเข้าใช้งานในระบบได้ทันที
  1. Download Application (File PDF) ตามประเภทวีซ่าที่ต้องการสมัคร
  2. กรอกรายละเอียดต่างๆ ลงในใบสมัคร (File PDF สามารถกรอกข้อมูลต่างๆ โดยทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ได้เลย) พร้อม Upload File PDF กลับเข้ามาในระบบ
  3. หลังจากที่ ได้ Upload เอกสารทั้งหมดกลับเข้ามาในระบบแล้ว หน่วย Smart Visa จะทำการตรวจสอบเอกสารทั้งหมด ถ้าเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติของผู้ที่ยื่นขอ SMART Visa ภายใน 3 วันทำการ แต่ถ้าเอกสารยังไม่ถูกต้องครบถ้วน ทางหน่วยฯ จะติดต่อกลับไป เพื่อขอเอกสารเพิ่มเติม
  4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะแจ้งผลการพิจารณา / พร้อมตรวจสอบให้ ภายใน 20 วันทำการ หากหน่วยงานต่างๆ ต้องการเอกสารเพิ่มเติม ทางหน่วย Smart Visa หรือหน่วยงานนั้นๆ จะติดต่อกลับไปเพื่อขอข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติม
  1. เปิดเว็บไซต์ https://smart-visa.boi.go.th เลือกที่เมนู ‘VISA ISSUANCE’.
  2. ด้านล่างสุดของหน้าเว็บเพจ ที่หัวข้อ BOOK YOUR SMART VISA APPOINTMENT ให้กรอกข้อมูลทั้งหมด ของผู้ยื่นขอ ที่ต้องการนัดจองวันประทับตรา Smart Visa
  3. ระบบจะจัดส่ง Email ไปให้กับ Email ที่ได้ทำการลงทะเบียนนัดจองวันประทับตราไว้
  4. ใน Email ที่ระบบทำการจัดส่งไปให้ จะมีข้อมูล และรายละเอียดทั้งหมดว่า ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างที่ต้องใช้ในวันที่มาประทับตรา เอกสารที่ต้องใช้ในวันประทับตราจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่าที่ผู้ยื่นขอถืออยู่ ณ ปัจจุบัน
  5. ผู้ยื่นขอเดินทางมาเพื่อประทับตรา ตามวันเวลาที่จองไว้ในระบบได้ที่ หน่วย SMART Visa ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (One Stop Service Center for Visa and Work Permit: OSS) อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้นที่ 18 เลขที่ 319 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
  1. หลังจากได้ Upload เอกสารที่จำเป็น (Required Documents) ครบตามที่ระบบได้กำหนดไว้แล้ว
  2. สถานะของท่านในระบบ จะขึ้นเป็น Submitted โดยอัตโนมัติ
  3. เจ้าหน้าที่ Smart Visa จะทำการตรวจสอบเอกสาร พร้อมเปลี่ยนสถานะเป็น Reviewing by BOI
  4. ถ้าเอกสารที่ยื่นมายังไม่ถูกต้องครบถ้วน จะขึ้นสถานะเป็น Not Submitted พร้อมแจ้งกลับไปยังผู้ยื่นขอ ให้ทำการยื่นเอกสารเข้ามาในระบบใหม่
  5. ถ้าเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน สถานะของท่าน ในระบบจะเปลี่ยนเป็น Processing คือ ทางหน่วย Smart Visa ออกเลขเอกสารของผู้สมัคร เรียบร้อยแล้ว และ กำลังส่งเรื่องดำเนินการ
Login เข้าสู่ระบบ และไปที่เมนู Check Status (ทางด้านซ้ายมือ) ในเมนู Check Status นี้ จะแสดงรายละเอียดทั้งหมด (ทางด้านขวามือ) ท่านสามารถตรวจเช็ครายละเอียดทั้งหมดได้ เช่น เลขที่หนังสือ (Doc No.), ชื่อนามสกุล (Applicant), ประเภทของ Smart Visa (Type), สถานะของท่านในระบบ (Status), วันที่อัพเดทล่าสุด (Last Update) หรือดูเอกสารที่ท่าน Upload เข้ามาในระบบได้ (Documents)
ในช่อง Status นี้ ท่านสามารถตรวจสอบสถานะของท่านได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  • Not Submitted : ท่านยังส่งเอกสารมาไม่ครบ หรือยังไม่ได้ส่งเอกสารเข้ามาในระบบเลย
  • Submitted : ท่านได้ส่งเอกสารที่ทางเราต้องการครบหมดแล้ว
  • Reviewing by BOI : เจ้าหน้าที่ Smart Visa กำลังตรวจสอบเอกสาร
  • Processing : เจ้าหน้าที่ Smart Visa ส่งเรื่องดำเนินการ และ ออกเลขเอกสารของท่าน เรียบร้อยแล้ว
  • Approved : ท่านได้รับการอนุมัติ Smart Visaแล้ว
  • Not Approved : ท่านไม่ได้รับการอนุมัติ
  • Uploading Additional Documents : ทางหน่วย Smart Visa ขอเอกสารจากท่านเพิ่มเติม เพราะเอกสารของท่านยังให้มาไม่ครบ โดยทางหน่วย Smart Visa จะขอเอกสารเพิ่มเติม ผ่านทาง email
  • Visa Received : ท่านได้รับการประทับตรา Smart Visa เรียบร้อยแล้ว
หลังจากท่านได้ Upload เอกสารไปแล้ว แต่สถานะยังไม่ได้ปรับเปลี่ยน อาจเป็นเพราะว่า:
  1. ยัง Upload เอกสารไม่ครบ ตามที่ระบบได้กำหนดไว้ (Required Documents) หรือ
  2. เอกสารที่ได้ Upload เข้ามา ไม่ตรงกับที่กำหนด มีขนาดใหญ่ (ต้องมีขนาดไม่เกิน 20 MB) หรือ ไม่ได้เป็นรูปแบบที่ทางระบบได้กำหนดไว้ ได้แก่ PDF , JPG , PNG
  • การสมัครสมาชิกด้วยอีเมล์ไม่ได้ อาจเกิดจาก รูปแบบอีเมล์ไม่ถูกต้อง หรือ อีเมล์นี้ได้เคยทำการลงทะเบียนไว้ในระบบแล้ว
  • เงื่อนไขการกำหนดรหัสผ่าน มีดังนี้ รหัสผ่านจะเป็น ตัวอักษรภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ หรือ ตัวเลข อย่างเดียว หรือ ผสมกันก็ได้ และ การยืนยันรหัสผ่าน ต้องตรงกันกับรหัสผ่านที่ได้กำหนดไว้ในครั้งแรก
หากตรวจสอบในกล่องอีเมล์ (Inbox) แล้วไม่พบอีเมล์ ให้ท่านตรวจสอบในกล่องอีเมล์ขยะ (Junk mail) เมื่อตรวจสอบทั้ง 2 ที่แล้ว ยังไม่พบอีเมล์ใดๆ แนะนำให้ท่านติดต่อทางเจ้าหน้าที่ทางอีเมล์ หรือ ทางโทรศัพท์ เพื่อแจ้งปัญหาอีกครั้ง
  • ตรวจสอบว่าได้เข้าไปกดยืนยันการลงทะเบียน Activation Link ในอีเมล์เรียบร้อยแล้วหรือไม่
  • ตรวจสอบว่าได้กรอก Username และ Password ตรงกันกับที่ได้สมัครเข้ามาในระบบหรือไม่
  • หากตรวจสอบทั้ง 2 ข้อแล้วยังเข้าระบบไม่ได้ โปรดติดต่อทางเจ้าหน้าที่ทางอีเมล์ หรือ ทางโทรศัพท์ เพื่อแจ้งปัญหาอีกครั้ง
คลิก " Forgot Username & Password " ที่หน้า login พร้อมกับกรอก อีเมล์ที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ ระบบจะส่งลิงค์สำหรับการตั้งรหัสผ่านใหม่ไปยังอีเมล์ของท่าน ท่านสามารถเข้าไปตรวจสอบอีเมล์ที่ได้รับ และเข้าไปกดที่ลิงค์ เพื่อทำการตั้งรหัสผ่านใหม่ และนำรหัสผ่านใหม่มา login เพื่อเข้าสู่ระบบ หากยังไม่สามารถ login เข้าสู่ระบบได้ แนะนำให้ท่านติดต่อทางเจ้าหน้าที่ ทางอีเมล์ หรือ ทางโทรศัพท์ เพื่อแจ้งปัญหาอีกครั้ง

แนวทางการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หลักฐานของบริษัท เช่น แผนผังกระบวนการผลิต เว็บไซต์บริษัท Portfolio หรือหลักฐานอื่นๆที่แสดงถึงเทคโนโลยีที่ใช้เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ
บริษัทจะต้องนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีนั้นๆจากบริษัทแม่มาทำการพัฒนาต่อยอด ดัดแปลงหรือปรับปรุงให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ถ้านำมาเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีแล้วไม่เกิดองค์ความรู้ หรือเกิดการพัฒนาต่อยอดในประเทศไทย จะไม่ถือว่าเป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน
ถ้าบริษัทซื้อมาแล้วติดตั้ง ซ่อมบำรุงเพียงอย่าเดียว จะไม่สามารถขอ Smart Visa ได้
การพิจารณาว่าอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากหลักฐานว่าบริษัทมีการใช้เทคโนโลยีและสามารถสร้างมูลค่าอย่างมีนัยยะสำคัญหรือไม่
ลักษณะสำคัญของการเป็นวิสาหกิจเริ่มต้นจะพิจารณาจากความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่แปลกใหม่และเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด โดยมีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น NIA จะรับรองวิสาหกิจเริ่มต้นโดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้เป็นหลัก ได้แก่ Innovation, Technology and Revenue Scale Up นอกจากนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มีนิยามของวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (Digital Startup) หมายความว่าบุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและเริ่มต้นดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาแล้วไม่เกิน 5 ปี ในธุรกิจที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัล ได้แก่ กิจการพัฒนาซอฟแวร์ (Software) กิจการฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ (Hardware and Smart Device) กิจการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Services) กิจการพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) และกิจการอุปกรณ์ชิ้นส่วนโทรคมนาคมและสื่อสาร (Communication Equipment and Services) โดยทั้งสองหน่วยงานจะดูจาก Business plan หรือ Pitch deck ที่ผู้สมัครนำเสนอเข้ามา
ผู้สมัครประเภท T, I, E, S ซึ่งถือบางสัญชาติจะต้องส่งใบรับรองประวัติอาชญากรรม โดยขอให้ตรวจสอบสัญชาติที่ต้องยื่นคำขอกับหน่วย Smart Visa เป็นรายกรณี สำหรับผู้สมัครประเภท O ทุกสัญชาติไม่ต้องส่งใบรับรองประวัติอาชญากรรม
  • กรณีที่ชาวต่างชาติอยู่ต่างประเทศ ต้องติดต่อหน่วยงานในประเทศนั้นๆที่สามารถตรวจสอบและออกหลักฐานการไม่มีประวัติอาชญากรรม เช่น สถานีตำรวจ เป็นต้น
  • กรณีที่ชาวต่างชาติอยู่ในประเทศไทย สามารถติดต่อขอตรวจสอบประวัติอาชญากรรมได้ที่ กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
งานที่เป็นไปตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ลงวันที่ 1 เมษายน 2563 ซึ่งมีงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด (ตามบัญชีหนึ่ง) ทั้งสิ้น 27 งาน ได้แก่
  1. งานแกะสลักไม้
  2. งานขับขี่ยานยนต์หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกลในประเทศ ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ หรืองานขับรถยก (Forklift)
  3. งานขายทอดตลาด
  4. งานเจียระไนหรือขัดเพชรหรือพลอย
  5. งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
  6. งานทอผ้าด้วยมือ
  7. งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง ไม้ไผ่ เยื่อไม้ไผ่ พืชหญ้า ขนไก่ ก้านทางมะพร้าว เส้นใย ลวด หรือวัสดุอื่น
  8. งานทำกระดาษสาด้วยมือ
  9. งานทำเครื่องเขิน
  10. งานทำเครื่องดนตรีไทย
  11. งานทำเครื่องถม
  12. งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
  13. งานทำเครื่องลงหิน
  14. งานทำตุ๊กตาไทย
  15. งานทำบาตร
  16. งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
  17. งานทำพระพุทธรูป
  18. งานทำร่มกระดาษหรือผ้า
  19. งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้นงานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าหรือการลงทุนระหว่างประเทศ
  20. งานนวดไทย
  21. งานมวนบุหรี่ด้วยมือ
  22. งานมัคคุเทศก์หรืองานจัดนำเที่ยว
  23. งานเร่ขายสินค้า
  24. งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
  25. งานสาวหรือบิดเกลียวไหมด้วยมือ
  26. งานเสมียนพนักงานหรือเลขานุการ
  27. งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี ยกเว้นงานดังต่อไปนี้
  1. งานปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ
  2. งานให้ความช่วยเหลือหรือทำการแทนในการดาเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ ในกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ข้อพิพาทที่พิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการนั้นมิใช่กฎหมายไทย
ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับการรับรองคุณสมบัติ แต่ผู้สมัครจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมวีซ่า 10,000 บาท/ปี ให้แก่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ในต่างประเทศ เมื่อตรวจลงตราตราวีซ่า

แนวทางการพิจารณารายงานสถานภาพ

ผู้ถือ Smart Visa ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศนานกว่า 1 ปี
ดาว์นโหลดแบบฟอร์มรายงานสถานภาพได้จากเว็บไซต์ https://smart-visa.boi.go.th คลิก เลือก Practical info เลือกหัวข้อ Download Form หรือจากอีเมล์การแจ้งเตือนการรายงานสถานภาพที่เจ้าหน้าที่ได้จัดส่งให้ทุกๆ ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวในราชอาณาจักร โดยผู้ถือ Smart Visa สามารถยื่นแบบฟอร์มรายงานสถานภาพที่กรอกรายละเอียดเรียบร้อยแล้วพร้อมเอกสารเพิ่มเติมมาได้ทางอีเมล์ smartvisa@boi.go.th ทั้งนี้ ผู้ถือ Smart Visa สามารถรายงานสถานภาพได้ก่อนวันครบกำหนด 15 วัน หรือหลังวันครบกำหนด 7 วัน
ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การรายงานสถานภาพ คือการรายงานสถานะปัจจุบันของผู้ถือ Smart Visa ต่อหน่วย Smart Visa เป็นประจำทุกปี ว่ายังคงมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไข Smart Visa ในแต่ละประเภทหรือไม่ ส่วนการแจ้งที่พักอาศัยเป็นการแจ้งอยู่ปัจจุบันกับทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งต้องดำเนินการ หากอยู่ในประเทศไทยติดต่อกัน 1 ปี
  • ในกรณีของ Smart T ที่ทำงานในภาคเอกชน จะต้องยื่นหลักฐานแสดงรายได้หรือการชำระภาษี ได้แก่ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ว่ามีเงินได้ถึงเกณฑ์ 50,000 - 100,000 บาทต่อเดือน
  • ในกรณีของ Smart T ที่ทำงานในภาครัฐ ไม่จำเป็นจะต้องยื่นหลักฐานใดๆแต่ ยังจำเป็นที่จะต้องรายงานสถานะภาพเช่นกัน
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (อายุไม่เกิน 3 เดือน) หรือ/และหลักฐานการโอนเงินลงทุนเข้าบริษัท
หลักฐานแสดงรายได้หรือการชำระภาษี ได้แก่ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ว่ามีเงินได้ถึงเกณฑ์ 200,000 บาทต่อเดือน
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (อายุไม่เกิน 3 เดือน) ว่าถือหุ้นเกิน 25% หรือ หนังสือรับรองบริษัทจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (อายุไม่เกิน 3 เดือน) ว่ามีชื่อเป็นกรรมการบริษัท และ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในกรณีที่ชาวต่างชาติถือหุ้นข้างมาก
หากหน่วย Smart Visa ตรวจพบว่า ผู้ถือ Smart Visa ไม่ได้รายงานสถานภาพตามกำหนด หน่วย Smart Visa จะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ถือ Smart Visa ว่ายังเป็นไปตามหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ Smart Visa หรือไม่ ในกรณีที่พบว่าผู้ถือ Smart Visa ไม่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ Smart Visa ก็จะดำเนินการยกเลิก Smart Visa ของผู้ถือ Smart Visa รายนั้นต่อไป
ถือว่าขาดคุณสมบัติของผู้ถือ Smart Visa จึงต้องยื่นเอกสารขอยกเลิกการเป็นผู้ถือ Smart Visa และดำเนินการยกเลิก Smart Visa ต่อไป

แนวทางการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการทำงาน

การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการทำงานมี 3 ประเภท ดังนี้
  1. เปลี่ยนที่อยู่/ที่ตั้งของสถานที่ทำงาน
  2. เปลี่ยนชื่อบริษัท (เลขทะเบียนนิติบุคคลคงเดิม)
  3. ขอทำงานของผู้ติดตาม (Smart O)
  • Smart Visa Qualifications update form
  • เอกสารหลักฐานแสดงการย้ายที่ตั้ง/ที่อยู่ของสถานที่ทำงาน
  • สำเนาหนังสือเดินทาง
เมื่อหน่วย Smart Visa รับเรื่องและตรวจสอบเอกสารการเพิ่มงานของผู้ติดตามแล้ว จะส่งเรื่องไปที่กรมการจัดหางานเพื่อพิจารณารับรองว่าไม่เป็นงานต้องห้ามสำหรับคนต่างชาติ
ยื่นแบบฟอร์ม Smart Visa Qualifications Update Form ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ https://smart-visa.boi.go.th/กรอก ข้อมูลให้ครบถ้วน และส่งอีเมล์มาที่ smartvisa@boi.go.th พร้อมแนบเอกสารประกอบ ได้แก่
  1. หนังสือจดทะเบียนบริษัทจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. สำเนาหนังสือรับรองการทำงานหรือสัญญาจ้างงาน
  3. สำเนาหนังสือเดินทาง
เมื่อกรมจัดหางานพิจารณารับรองว่าไม่เป็นงานต้องห้ามแล้ว ผู้ติดตามที่ขอทำงานเพิ่มจะได้รับหนังสือขอประทับตราที่อยู่บริษัท พร้อมทั้งได้รับการแจ้งข้อปฏิบัติให้ผู้ถือ Smart Visa ทราบทางอีเมล เช่น เอกสารที่จะต้องนำมาประกอบการขอประทับตราที่อยู่บริษัท ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน ณ อาคารจามจุรี สแควร์ ในวันเวลาที่นัดหมายต่อไป
สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน โดยมีเอกสารมอบอำนาจพร้อมลายเซ็นของผู้ถือ Smart Visa ได้ในกรณีดังนี้
  1. กรณีเปลี่ยนแปลงที่อยู่/ที่ตั้งของสถานที่ทำงาน และการเปลี่ยนชื่อบริษัท (เลขทะเบียนนิติบุคคลเดิม)
  2. กรณีผู้ติดตาม Smart “O” ขอเพิ่มการทำงาน
ขั้นตอนขอประทับตราโดยผู้รับมอบอำนาจแทน มีดังนี้
เมื่อได้รับแจ้งผลการยื่นคำขอและข้อปฏิบัติให้ผู้ถือ Smart Visa รับทราบทางอีเมลแล้ว ในวันที่นัดหมายเข้ามาดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราประทับ ผู้แทนต้องมารับหนังสือแจ้งถึงสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่หน่วย Smart Visa พร้อมลงนามในบันทึกรับเอกสาร โดยผู้แทนจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนมาด้วย และนำเอกสารทั้งหมด รวมถึงหนังสือเดินทาง ยื่นให้แก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อขอให้ประทับตราที่อยู่บริษัท หรือแก้ไขตราประทับที่มีอยู่แล้ว แล้วแต่กรณี
หมายเหตุ
สำหรับกรณีการขอประทับตรา Smart Visa หรือการขอขยายระยะเวลา Smart Visa ชาวต่างชาติต้องมาดำเนินการด้วยตนเองเท่านั้น ไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้
หากเป็นการเปลี่ยนหรือย้ายที่พักอาศัยส่วนตัว ไม่จำเป็นต้องแจ้งหน่วย Smart Visa
ผู้สมัคร Smart visa สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ https://smart-visa.boi.go.th > Practical info > Downloadable Documents > Smart Visa Qualifications Update Form
ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน สำหรับการแจ้งเปลี่ยนที่อยู่/ที่ตั้งของสถานที่ทำงาน และเปลี่ยนชื่อบริษัท และใช้ระยะเวลาประมาณ 14 วันสำหรับการขอทำงานเพิ่มของผู้ติดตาม
หากมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทโดยการเปลี่ยนเลขทะเบียนนิติบุคคล ชาวต่างชาติต้องขอรับรองคุณสมบัติของบริษัทใหม่ แล้วต้องมาดำเนินการแจ้งพ้นจากบริษัทเดิม เพื่อไปขอบรรจุในบริษัทใหม่ที่ได้รับการรับรอง

แนวทางการดำเนินการเพื่อขอยกเลิก Smart Visa

ผู้ประสงค์ขอยกเลิก Smart Visa สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์ https://smart-visa.boi.go.th > Practical info > Download forms.
  • เอกสารประกอบการขอยกเลิกต่อหน่วย Smart Visa
    1. แบบฟอร์ม Smart Visa Termination Request Form
    2. หนังสือแจ้งพ้นหน้าที่
    3. สำเนา Passport
  • เอกสารประกอบการรับประทับตรายกเลิกที่ สตม.
    1. หนังสือเดินทางของผู้ประสงค์ขอยกเลิก
    2. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ถือ Smart Visa ไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง ผู้แทนจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้มาดำเนินการแทน)
ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้แทนดำเนินการแทน โดยผู้แทนจะต้องมาติดต่อหน่วย Smart Visa พร้อมหนังสือเดินทาง และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว
หลังจากรับเอกสารจากหน่วย Smart Visa สามารถรับประทับตรายกเลิกจาก สตม. ได้ภายในวันเดียวกัน
ผู้ติดตามจะไม่ได้ถูกยกเลิก Smart Visa โดยอัตโนมัติ ดังนั้นผู้ติดตามจึงต้องเข้ามาดำเนินการยกเลิก Smart Visa เหมือนเช่นเดียวกันกับผู้ถือหลัก
ไม่ต้องยกเลิก Smart Visa แต่สามารถยื่นเรื่องมาที่หน่วย Smart Visa เพื่อขอแก้ไขข้อมูลและขอรับตราประทับที่อยู่บริษัทใหม่ได้
  1. ลาออก หรือ เลิกจ้าง พ้นหน้าที่ในตำแหน่งงานปัจจุบันของบริษัทหรือองค์กร
  2. คุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์
  3. มีความประสงค์จะย้ายออกจากประเทศไทย
  4. มีความประสงค์ขอเปลี่ยนประเภท Smart Visa เป็นวีซ่าประเภทอื่น ได้แก่ Non-B, Non-O ภายใต้โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
  5. ผู้ติดตาม Smart Visa ประเภท O ที่สิ้นสุดสิทธิ Smart Visa ตามผู้ถือหลักในข้อ1 และ ข้อ3
ประสงค์ขอยกเลิก Smart Visa สามารถดำเนินการแจ้งพ้นล้วงหน้าได้ไม่เกิน 21วัน ก่อนวันสุดท้ายของการทำงาน
แนะนำว่า ให้ผู้ถือ Smart Visa ดำเนินการสมัคร Smart Visa เข้ามาก่อนเพื่อให้หน่วยงานทำการพิจารณารับรอง เมื่อได้ผลอนุมัติ สามารถทำการยกเลิก และขอรับประทับตราใหม่ในวันเดียวกันได้
ไม่มีค่าจ่ายใดๆ สำหรับการยกเลิก Smart Visa

แนวทางการขออนุญาตอยู่ต่อในราชอาณาจักรภายใต้ Smart Visa

การขออนุญาตอยู่ต่อในราชอาณาจักรต่อเนื่องภายใต้ Smart Visa จะพิจารณาตามประกาศ สกท. ที่ 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) เป็นหลัก โดยอาจยกเว้นการเรียกขอเอกสารบางอย่างได้ เนื่องจากมีข้อมูลเก็บไว้ในฐานข้อมูลเดิมแล้วตั้งแต่การรับรองคุณสมบัติในครั้งแรก รวมทั้งอาจไม่จำเป็นต้องขอรับรองคุณสมบัติบางประการซ้ำอีก อาทิ ความเชี่ยวชาญของตัวบุคคล เป็นต้น ทั้งนี้ เอกสารที่เรียกขอสำหรับการขออยู่ต่อในแต่ละประเภท ได้แก่:

 

ประเภท เอกสาร เหตุผลเพื่อตรวจสอบ
Smart T 1. สัญญาจ้างงาน ระยะเวลาสัญญา และเงินได้
2. หลักฐานแสดงรายได้หรือการชำระภาษี เงินได้ถึงเกณฑ์ 50,000 - 100,000 บาทต่อเดือน
Smart I 1. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือ/และหลักฐานการโอนเงินลงทุนเข้าบริษัท มูลค่าเงินลงทุนถึงเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
Smart E 1 .สัญญาจ้างงาน ตำแหน่ง ระยะเวลาสัญญา และเงินได้
2. หลักฐานแสดงรายได้หรือการชำระภาษี เงินได้ถึงเกณฑ์ 200,000 บาทต่อเดือน
3. รายงานประจำปี หรืองบการเงินปีล่าสุดของบริษัท สถานะของบริษัทว่ายังคงดำเนินงานอยู่
Smart S 1. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือ/และหลักฐานการโอนเงินลงทุนเข้าบริษัท ถือหุ้นเกิน 25% หรือไม่
2. รายงานประจำปี หรืองบการเงินปีล่าสุดของบริษัท สถานะของบริษัทว่ายังคงดำเนินงานอยู่
3. หลักฐานแสดงเงินฝากไม่น้อยกว่า 600,000 บาท และถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน มีเงินใช้จ่ายขณะอยู่ในประเทศไทย
4. ประกันสุขภาพครอบคลุมตลอดระยะเวลาพำนักอยู่ในประเทศไทย มีกรมธรรม์คุ้มครองตลอดระยะเวลาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท
Smart O 1. ประกันสุขภาพครอบคลุมตลอดระยะเวลาพำนักอยู่ในประเทศไทย สำหรับผู้ติดตาม Smart S มีกรมธรรม์คุ้มครองตลอดระยะเวลาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท
2. สัญญาจ้างงาน สำหรับผู้ที่ทำงานในประเทศไทยเท่านั้น
3. หลักฐานแสดงเงินฝาก 180,000 บาท และถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน สำหรับผู้ติดตาม Smart S มีเงินใช้จ่ายขณะอยู่ในประเทศไทย
  • ต้องเป็นผู้ผ่านการรับรองการมีแผนการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นซึ่งใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจในประเทศหรือเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นในลักษณะ Startup Camp โดย NIA depa
  • ต้องมีความก้าวหน้าในการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย โดยจะต้องแสดงหลักฐาน ได้แก่ ใบจองชื่อนิติบุคคลและใบบริคณห์สนธิ จะได้ต่อวีซ่าอีก 6 เดือน ในขณะที่ถ้าสามารถจัดตั้งบริษัทซึ่งตนมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน หรือเป็นกรรมการของบริษัทที่ได้จัดตั้งจะได้รับอนุญาตให้อยู่ต่ออีก 2 ปี
  • ต้องมีกรมธรรม์ประกันสุขภาพคุ้มครองซึ่งมีวงเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่พำนักในประเทศ
สำหรับผู้ถือ Smart S ชนิด 6 เดือน สามารถขอขยายระยะเวลาการอยู่ต่อในประเภทเดิมได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น หลังจากนั้นจะต้องขอขยายเป็น Smart S ชนิด 2 ปี หลังจากนั้น สามารถขอขยายได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
มี 5 รายการ ดังนี้
  1. แบบคำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (ตม.7)
  2. แบบคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (ตม.8)
  3. หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ พร้อมสำเนา
  4. หนังสือรับรองคุณสมบัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนโดยหนังสือรับรองจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 วันนับจากวันที่ออกหนังสือ
  5. แบบรับทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) (สตม.6)
สามารถดาว์นโหลดได้จากเว็บไซต์ https://smart-visa.boi.go.th/ > Practical info > Download forms
กรณีคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถือ Smart Visa ประเภท S ระยะเวลา 1 - 2 ปี ยังต้องมีเงินฝากในบัญชี เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 180,000 บาทหรือเทียบเท่าต่อคน ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
หน่วย Smart Visa จะต้องพิจารณารับรองคุณสมบัติของผู้ยื่น Smart Visa โดยขอรายละเอียดใหม่ทั้งหมด เหมือนการขอรับการรับรองในครั้งแรก และแจ้งผลการพิจารณาภายใน 30 วันทำการ
จะต้องดำเนินการก่อนวีซ่าปัจจุบันครบกำหนดอย่างน้อย 60 วัน โดยยื่นคำขอรับรองคุณสมบัติเพื่อขยายระยะเวลา Smart Visa พร้อมแนบเอกสารประกอบทางเว็บไซต์ https://smart-visa.boi.go.th/ เนื่องจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะใช้ระยะเวลา 30 วันทำการในการพิจารณาคุณสมบัติผู้ถือ Smart Visa
สามารถทำได้ แต่ต้องออกจากประเทศไทย และเข้ามาใหม่ภายใต้วีซ่าประเภทอื่นๆ ก่อน ทั้งนี้ กรณีที่อยู่เกินกำหนดระยะเวลาอนุญาต (Overstay) มีบทลงโทษ ดังต่อไปนี้

1) กรณีคนต่างด้าวเข้ามอบตัว

  1. คนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรนับแต่วันสิ้นสุดการอนุญาต เสียค่าปรับในอัตรา 500 บาท/วัน แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อนรับการตรวจลงตราขยายระยะเวลาอยู่ต่อหรือเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไทย
  2. คนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรนับแต่วันสิ้นสุดการอนุญาตเกินกว่า 90 วัน ห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวเดินทางออกนอก ราชอาณาจักร
  3. คนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรนับแต่วันสิ้นสุดการอนุญาตเกินกว่า 1 ปี ห้ามมิให้ เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
  4. คนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรนับแต่วันสิ้นสุดการอนุญาตเกินกว่า 3 ปี ห้ามมิให้ เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
  5. คนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรนับแต่วันสิ้นสุดการอนุญาตเกินกว่า 5 ปี ห้ามมิให้ เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

2) กรณีคนต่างด้าวถูกจับกุมดำเนินคดี

  1. ออกคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรนับแต่วันสิ้นสุดการอนุญาตไม่เกิน 1 ปี ห้ามมิให้ เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
  2. คนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรนับแต่วันสิ้นสุดการอนุญาตเกินกว่า 1 ปี ห้ามมิให้ เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวเดินทางนอกราชอาณาจักร
อัตรา 10,000 บาท ต่อคน ต่อปี กรณีมีผู้ติดตาม คิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกัน